Sunday, March 18, 2012

กระบวนการค้าไม้พยูง(เขตอุทยานแห่งชาติภูผายล)

วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๕ รายวิชาสัมมาการปกครองท้องถิ่น นำเสนอประเด็นการสัมมนา เรื่อง กระบวนการค้าไม้พยูงในเขตอุทยานแห่งชาติภูผายล นำเสนอโดย. กฤษฎาพงศ์และ มณเฑียร นักศึกษาปกครองท้องถิ่น รุ่นที่ ๘ อำเภอดงหลวง


สาระสำคัญของการนำเสนอ เป็นประเด็นเกี่ยวกับการค้าไม้พยูง ที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญในบริเวณพื้นที่จังหวัดในภาคอีสาน โดยเฉพาะในเขตจังหวัดสกลนคร นครพนม อุบลราชธานี อำนาจเจริญ เป็นต้น ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กล่าวกันว่า มีไม้พยูงจำนวนมาก กระจายอยู่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติ หรือเขตอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งในเขตจังหวัดดังกล่าวข้างต้น ประเด็นที่น่าสนใจ ของการนำเสนอ ได้แก่

(๑) คนในท้องถิ่นต้องการเงินเป็นปัจจัยสำคัญ
(๒) คนท้องถิ่นเป็นคนตัด ตามคำสั่งซื้อจากเบื้องบน(บุคคลภายนอก/หรือนอกประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน)
(๓) ความเชื่อมโยงระหว่างคนตัด การขนส่งระบวนการ ส่งออก มีการคุ้มครองในทุกขั้นตอน
(๔) กระบวนการตัดไม่พยูง มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องก่อนหน้านี้ มิใช่เพิ่มมี แต่ที่เป็นกระแสในปัจจุบัน เกี่ยวเนื่องกับการเบี่ยงเบนประเด็นความสนใจของประชาชนทั่วไป
(๕) ตัวเชื่อมประสานที่สำคัญ คือเจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่ที่มีหน้าที่โดยตรงในการอนุรักษ์หรือการรักษาป่าไม้
(๖) มีการทราบข้อมูลของต้นไม้พยูงทุกต้นอย่างชัดเจน
(๗) เส้นทางการขนส่งเดิม ขนส่งจากภาคอีสานสู่ภาคกลาง โดยเฉพาะจังหวัดชายทะเล เพื่อส่งออก
(๘) แต่ปัจจุบัน เส้นทางส่งออก ใช้พื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดติดกับแม่น้ำโขง ส่งต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ออกสู่ประเทศจีน
(๙) จากข้อ๘ ทำให้ราคาไม้พยูงในแต่ละช่วงของการขนส่ง มีความแตกต่างกัน โดยราคาจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ
(๑๐) ราคาซื้อขายในปัจจุบัน ราคาในระดับพื้นที่ ราคาลูกบาศก์เมตรละ ๔๐,๐๐๐ - ๕๐,๐๐๐ บาท จากพื้นที่อำเภอดงหลวง นำส่งสู่ริมฝั่งโขง ราคาจะเพิ่มขึ้นเป็น ๑๐๐,๐๐๐ บาท ต่อ ลบ.ม. และจะเพิ่มเป็น ๔๐๐,๐๐๐ บาท/ลบ.ม. เมื่อข้ามแม่น้ำโขงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
(๑๑) แนวทางแก้ไขปัญหา ไม่สามารถแก้ได้ เพราะปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาระหว่างประเทศ ที่เชื่อมโยงกับอำนาจทางการเมือง และข้าราชการระดับสูง(นายทุน/นักการเมือง/เจ้าหน้าที่ของรัฐ)
(๑๒) ทางออกมีทางเดียวคือ การสร้างจิตสำนึกของประชาชนในพื้นที่ให้มีสำนึกรักบ้านเกิด เห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรปกครองท้องถิ่น ต้องให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตนเอง

(ข้อมูลการนำเสนอเป็นเพียงการระดมความคิดเห็นจากนักศึกษา ในการเรียนรายวิชา "สัมมนาการปกครองท้องถิ่น"  มิได้มีเจตนาพาดพิงถึงผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ)

No comments:

Post a Comment