Monday, March 26, 2012

ทำไม...???? เด็กหนีเรียน

เด็กนักเรียนในปัจจุบัน ตกต่างโดยสิ้นเชงจากนักเรียนในอดีต เด็กปัจจุบัน อยู่กับภาวะการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปงในทุกๆด้าน ทั้งการด้านเศรษกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และโดยเฉพาะเทคโนโลยี มีผลต่อวิธีคิดของนักเรียน(ที่มีอายุยังน้อย) ที่มีประสบการณ์ชีวิตค่อนข้างน้อย แต่การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นแรงผลักดันให้เด้กได้เรียนรู้ ได้ทดลอง เกินกว่าจากภาวะเดียวกันกับเด็กในสมัยก่อน นำมาซึ่งการมองปัญหาแต่ละเร่ื่องที่แตกต่างกัน ระหว่างตัวนักเรียน ผู้ปกครอง และครู
ความแตกต่างดงกล่่าว นำมาซึ่งการไม่เคารพซึ่งกันและกัน ความศรัทธา ความเคารพนักบถือ ความเกรงใจ ที่มีต่อกัน ที่ลดระดับลงอย่างมากในปัจจุบัน ปัญหาการหนี้เรียน หรือไม่เข้าห้อเรียนของนักเรียน ก็สืบเนื่องมาจากสาเหตุที่กล่าวมาไม่น้อย
กลุ่มนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร หน่วยจัดการศึกษาอำเภอดงหลวง รายวิชา สัมมนาการปกครองท้องถิ่น ได้นำมาเสนอและระดมความคิดเป็นในการเรียน หังข้อ ทำไม เด็กจึงหนีเรียน มีประเด็นสรุปสาเหตุที่น่าสนใจ ดังนี้


(๑) นักเรียน ไม่รู้ถึงความเป็นไปในอนาคตของตนเอง หรือไม่คิดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสำหรับตนเอง
(๒) อยากลอง กยากรู้ในสิ่งที่ก่อให้เกิดความสนุกสนาน มากกว่าสิ่งที่เป็นสาระของชีวิต
(๓) สถานบันครอบครัวไม่สามารถก้าวทันหรือรับรู้การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนหรือบุตรธิดาของตนเองได้ เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่ไม่ได้รับรู้หรือเข้าใจ
(๔) ครูกับนักเรียน มีฐานะเป็นเพื่อนกันมากกว่า จะเป็นผู้ประสาทวิชาแก่นักเรียน นักเรียนจึงไม่มีความเกรงใจต่อครูผู้สอน ด้วยพฤติกรรมของครู ทำให้นักเรียนไม่ให้ความเคารพ
(๕) สื่อต่างๆ ชักชวนเด้กนักเรียนไปสู่ความบันเทิงมากกว่า สาระของชีวิตที่เด็กต้องเผชิญในอนาคต



โดนสรุปในเวทีสัมมนา สรุปว่า ปัญหาเกิดจากครอบครัวเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะหล่อหลอมเด็กให้สามารถเข้าใจถึงตัวตนเองของเด็ก ครอบครัวจะเป็นผู้พัฒนาความรู้สึก นึกคิด ความรับผิดชอบที่จะเกิดขึ้นกับตัวเด็ก โดยที่พ่อแม่ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจเพียงพอ ต่อตัวนักเรียน ดังนั้น แนวทางที่จะแก้ปัญหาได้ดีที่สุด คือ ใช้ครอบครัวเป็นฐานในการนคนดี มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัง สังคม และประเศชาติ

สุริยะ  พิศิษฐอรรถการ
๒๕ มีนาคม ๒๕๕๕
หน่วยจัดการศึกษาอำเภอดงหลวง
วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร

Sunday, March 18, 2012

Sex.....ในวัยเรียน?

วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๕ การเรียนรายวิชาการสัมมนาการปกครองท้องถิ่น ของนักศึกษาสาขาการปกครองท้องถิ่น รุ่นที่ ๘ อำเภอดงหลวง ได้นำเสนอประเด็ินการสัมมนาเรื่อง SEX....ในวัยเรียน โดยนายปฏิวัติ และนายบรรเทิง  สาระสำคัญของการนำเสนอ มีโดยสรุปดังนี้






การนำเสนอของตัวแทนนักศึกษา สำหรับประเด็นเรื่อง sex ในวัยเรียน มีสาระสำคัญ ดังนี้
(๑) สถานการณ์ในปัจจุบัน มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
(๒) เรื่อง Sex เป็นเรื่องธรรมชาติ ที่กระตุ้นให้เยาวชนในวัยเรียน อยากลอง
(๓) ด้วยวัฒนธรรมไทย เรื่อง เพศ เป็นเรื่องน่าอาย เป็นเรื่องลับ ที่ไม่สามารถพูดอย่างเปิดเผยได้
(๔) เมื่อมีปัญหา เช่น นักเรียนหญิงท้องขณะเรียน จะต้องออกจากโรงเรียน เพราะสังคมไม่ยอมรับเรื่องดังกล่าว
(๕) เป็นเรื่องท้าประลองสำหรับวัยรุ่นในวัยเรียน
(๖) เป็นเรื่องที่สอนได้ แต่การแก้ไขปัญหาจะเป็นเรื่องยากสำหรับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
(๗) สาเหตุสำคัญคือ ต้องการความสนุก แต่ขาดความเข้าใจหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
(๘) ครอบครัวหรือพ่อแม่ ไม่สามารถตามทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมในด้านต่างๆได้ ไม่สามารถให้คำปรึกษาหรือควบคุมดูแลบุตรหลานได้
(๙) เป็นค่านิยมของสังคม ที่ทำให้เรื่องเพศ เป็นเรื่องธรรมดา
(๑๐) วัยเรียน ไม่คิดไกล ถึง อนาคตในวันข้างหน้า
(๑๑) มีจินตนาการสำหรับเรื่องเพศ โดยมีสื่อต่างๆ เป็นเครื่องชักนำ
(๑๒) ทางออก ควรให้นักเรียนได้เรียนรู้ความจริงเรื่องเพศ
(๑๓) บรรจุเป็นหลักสูตร
(๑๔) ครอบครัวสำคัญที่สุดที่จะดูแล พ่อแม่ต้องเข้าใจและตามทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม สามารถทำหน้าที่ให้คำปรึกษาได้

โดยสรุป เรื่องเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน เป็นเรื่องไม่เหมาะสม แต่ต้องร่วมกันสร้างความเข้าใจที่แท้จริงแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย กำกับสื่อให้มีการนำเสนอที่เหมาะสมมากกว่าที่เป็นอยู่ ในลักษณะของสาระความรู้ที่ควรให้แก่เยาวชน เน้นสาระความรู้ให้มีมากกว่าบันเทิง

กระบวนการค้าไม้พยูง(เขตอุทยานแห่งชาติภูผายล)

วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๕ รายวิชาสัมมาการปกครองท้องถิ่น นำเสนอประเด็นการสัมมนา เรื่อง กระบวนการค้าไม้พยูงในเขตอุทยานแห่งชาติภูผายล นำเสนอโดย. กฤษฎาพงศ์และ มณเฑียร นักศึกษาปกครองท้องถิ่น รุ่นที่ ๘ อำเภอดงหลวง


สาระสำคัญของการนำเสนอ เป็นประเด็นเกี่ยวกับการค้าไม้พยูง ที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญในบริเวณพื้นที่จังหวัดในภาคอีสาน โดยเฉพาะในเขตจังหวัดสกลนคร นครพนม อุบลราชธานี อำนาจเจริญ เป็นต้น ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กล่าวกันว่า มีไม้พยูงจำนวนมาก กระจายอยู่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติ หรือเขตอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งในเขตจังหวัดดังกล่าวข้างต้น ประเด็นที่น่าสนใจ ของการนำเสนอ ได้แก่

(๑) คนในท้องถิ่นต้องการเงินเป็นปัจจัยสำคัญ
(๒) คนท้องถิ่นเป็นคนตัด ตามคำสั่งซื้อจากเบื้องบน(บุคคลภายนอก/หรือนอกประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน)
(๓) ความเชื่อมโยงระหว่างคนตัด การขนส่งระบวนการ ส่งออก มีการคุ้มครองในทุกขั้นตอน
(๔) กระบวนการตัดไม่พยูง มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องก่อนหน้านี้ มิใช่เพิ่มมี แต่ที่เป็นกระแสในปัจจุบัน เกี่ยวเนื่องกับการเบี่ยงเบนประเด็นความสนใจของประชาชนทั่วไป
(๕) ตัวเชื่อมประสานที่สำคัญ คือเจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่ที่มีหน้าที่โดยตรงในการอนุรักษ์หรือการรักษาป่าไม้
(๖) มีการทราบข้อมูลของต้นไม้พยูงทุกต้นอย่างชัดเจน
(๗) เส้นทางการขนส่งเดิม ขนส่งจากภาคอีสานสู่ภาคกลาง โดยเฉพาะจังหวัดชายทะเล เพื่อส่งออก
(๘) แต่ปัจจุบัน เส้นทางส่งออก ใช้พื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดติดกับแม่น้ำโขง ส่งต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ออกสู่ประเทศจีน
(๙) จากข้อ๘ ทำให้ราคาไม้พยูงในแต่ละช่วงของการขนส่ง มีความแตกต่างกัน โดยราคาจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ
(๑๐) ราคาซื้อขายในปัจจุบัน ราคาในระดับพื้นที่ ราคาลูกบาศก์เมตรละ ๔๐,๐๐๐ - ๕๐,๐๐๐ บาท จากพื้นที่อำเภอดงหลวง นำส่งสู่ริมฝั่งโขง ราคาจะเพิ่มขึ้นเป็น ๑๐๐,๐๐๐ บาท ต่อ ลบ.ม. และจะเพิ่มเป็น ๔๐๐,๐๐๐ บาท/ลบ.ม. เมื่อข้ามแม่น้ำโขงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
(๑๑) แนวทางแก้ไขปัญหา ไม่สามารถแก้ได้ เพราะปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาระหว่างประเทศ ที่เชื่อมโยงกับอำนาจทางการเมือง และข้าราชการระดับสูง(นายทุน/นักการเมือง/เจ้าหน้าที่ของรัฐ)
(๑๒) ทางออกมีทางเดียวคือ การสร้างจิตสำนึกของประชาชนในพื้นที่ให้มีสำนึกรักบ้านเกิด เห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรปกครองท้องถิ่น ต้องให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตนเอง

(ข้อมูลการนำเสนอเป็นเพียงการระดมความคิดเห็นจากนักศึกษา ในการเรียนรายวิชา "สัมมนาการปกครองท้องถิ่น"  มิได้มีเจตนาพาดพิงถึงผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ)

Thursday, March 8, 2012

หัวข้อการสัมมนา

ธรารักษ์+ทิพย์ผกา (facebook...กับนักเรียน)(๖)
อัมพร+รุ่งนภา(ภาระผู้สูงอายุในชุมชน)(๑)วาณี+จันทร์จิรา(ทางออก....วัยรุ่นตีกัน)(๕)
นที+วินัย(ทำไม.....เด็กขาดเรียน/หนีเรียน)(๔)
ปฏิวัติ+บันเทิง(Sex….ในวัยเรียน?)(๒)
กฤษดาพงศ์+มณเฑียร(กระบวนการค้าไม้พยุงกับชุมชนอำเภอดงหลวง)(๓)
นรินทร์+สมัย(เพื่อนในวงเหล้า...มิตรภาพที่แท้หรือผู้ทำลาย)(๑๐)
สราวุธ+บุญมี(เผาอ้อย...ความเสียงของเกษตรกร)(๘)
ณัฐวุฒิ+นันฑณิต(ยาเสพติดกับวัยรุ่น)(๙)
คัชฎาภรณ์+ดารัตน์(เลี้ยงลูกด้วยนมแม่)(๗)

Saturday, March 3, 2012

บรรยากาศ "ภาระผู้สูงอายุ"

กลุ่มแรกที่นำเสนอ เรื่อง "ภาระของผู้สูงอายุ"
ผู้นำเสนอ ประกอบด้วย
(๑) อัมพร  ปาหลา
(๒) รุ่งนภา  นารีนุช


สาระสำคัญของการสัมมนา
(๑) ปรากฏการณ์ของผู้สูงอายุ
- ในชนบทผู้สูงอายุมีภาระมากขึ้น
- ภาระที่เกิดขึ้น จากคนใกล้เคียงที่เป็นญาติ
- สุขภาพร่างกายไม่ดี แต่ภาระมากขึ้น
- แนวโน้มผู้สูงอายุจะเป็นภาระให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น

(๒) ปัญหาที่สำคัญ คือ
- ขาดการบูรการในการแก้ไขปัญหาร่วมกันสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง
- ท้องถิ่นให้ความสำคัญน้อยกว่าการพัฒนาด้านโตรงสร้างพื้นฐาน เพราะผลประโยชน์
- ชุมชนมองไม่เห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต

(๓) แนวทางการแก้ไขปัญหา
- ชุมชนร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ
- สร้างสำนึกให้เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ
- ประสาน ท้องถิ่น ดำเนินกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภาระของผู้สูงอายุ ผ่านการส่งเสริมอาชีพ หรือทุนสนับสนุนกิจกรรมอื่นๆ อย่างจต่อเนื่อง

คำอธิบายรายวิา สัมมนาการปกครองท้องถิ่น

ศึกษารายกรณีทางด้านการพัฒนาองค์กรปกครองท้องถิ่นและการพัฒนาท้องถิ่น โดยเน้นสภาพปัญหาและกระบวนการพัฒฯาท้องถิ่น การจัดการท้องถิ่น เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม โดยนำข้อมูลหรือข้อค้นพบมาปฏิบัติการสัมมนา